จากคนธุรกิจพัง สู่ราชันย์แห่งซอสมะเขือ กับ Henry John Heinz

จากคนธุรกิจพัง สู่ราชันย์แห่งซอสมะเขือ กับ Henry John Heinz

หลาย ๆ คนพอได้ยินคำว่าล้มละลาย อาจจะคิดว่าเราคงไม่สามารถฟื้นตัวได้แน่ ๆ แต่จริง ๆ แล้ว ภาวะล้มละลายไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มีนักธุรกิจหลายคนที่สามารถเอาชนะคำว่าล้มละลายได้และกลับมาร่ำรวยกว่าเดิม

1 ในนั้นคือชายผู้ชื่อ Henry John Heinz

จากชายผู้เคยธุรกิจพังจากการทำธุรกิจพืชผัก สู่การเป็นเจ้าชายแห่งซอสมะเขือ ทรัพย์สินของเขานั้นประเมินค่าไม่ชัดเนื่องจากเขาเสียชีวิตตั้งแต่ปี 1991 แต่อ้างอิงจากเว็บไซต์ Popularbio พบว่าเขาน่าจะเป็นหนึ่งในคนที่มีทรัพย์สินมากที่สุดคนหนึ่งในรัฐ  Pittsburgh ในรัฐ Pennsylvania โดยเขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท H. J. Heinz Company ที่ส่งออกสินค้าไปถึงหกทวีป กว่า 200 ประเทศทั่วโลก และครองอันดับ 1 ในตลาดซอสมะเขือเทศของสหรัฐอเมริกามากกว่า 50 % 

เขาเป็นคนหมกมุ่นกับธุรกิจด้านอาหารการกินมาตั้งแต่ยังเด็ก ตั้งแต่หกขวบ เขาก็เริ่มช่วยแม่ทำแตงกวาดองขาย พอมีความรู้เรื่องผักมากพอแล้ว เขาก็ได้เริ่มลองทำซอสจากต้นฮอสแรดิช (บางคนอาจรู้จักในชื่อวาซาบิปลอม) ตอนเก้าขวบ และได้ทำการลองออกขายตามบ้านเรือนต่าง ๆ ตอนอายุ 12  จนอายุ 15 เขาก็ได้ไปช่วยทำธุรกิจของพ่อและได้เรียนรู้วิธีการทำธุรกิจจากตรงนั้น

พอมาที่ปี 1869 ตอนที่เขาอายุได้ 25 ปี เขาก็เริ่มอยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง

เขาก่อตั้งธุรกิจด้วยมีสินค้าหลักคือฮอสแรดิชดองขายในขวดแก้วใส ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคการตลาดที่ทำให้สินค้าของเขาได้รับความนิยม เพราะผู้ซื้อจะสามารถเห็นรูปลักษณ์ของสินค้าได้ก่อนซื้อ เพราะในช่วงนั้น อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าบรรจุขวดของอเมริกาได้รับชื่อเสียงที่ไม่ดีในการใช้สารตัวเติม เช่น หัวผักกาด หรือแม้แต่เศษไม้ที่คุณมองไม่เห็นอยู่ในผลิตภัณฑ์จนกว่าคุณจะกลับถึงบ้าน เขาเริ่มขยายสาขาออกเป็นผักประเภทต่าง ๆ ไปจนถึงน้ำส้มสายชู ขายส่งในรัฐ Pittsburgh ที่เขาเกิด โดยตั้งชื่อบริษัทของเขาว่า Heinz & Noble ที่มาจากชื่อเขาและหุ้นส่วนคนสำคัญ L. Clarence Noble ทั้งสองซื้อพื้นที่หนึ่งร้อยเอเคอร์ตามแม่น้ำอัลเลเกนีเพื่อปลูกผัก ตลอดจนโรงงานน้ำส้มสายชูในเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี และขยายไปสู่โรงงานขนาดใหญ่ (แก้)

แต่ธุรกิจนี้ของเขาที่ดูจะไปได้ดีก็กลับพังทลายลงด้วยสองเหตุผล

เนื่องจากเหตุการณ์ความตื่นตระหนกทางเศรษฐกิจในปี 1873 (panic of 1873) ที่ส่งผลต่อการให้สินเชื่อของธุรกิจทุกภาคส่วน ลากยาวไปตั้งแต่ปี 1873 จนถึงปี 1879 ผนวกกับเกิดเหตุการณ์พืชผลทึ่ออกผลผลิตมามากผิดปกติ แม้ว่าเขาจะมีผลผลิตมาก แต่เพราะเศรษฐกิจก็ทำให้ไม่มีใครซื้อสินค้าเพราะต้องการเก็บเงินไว้ ทำให้เขาไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้ แม้เขาได้จำนองทุกอย่างที่ทำได้เพื่อคงสถานะไว้ แต่ในที่สุดก็ต้องปิดตัวลงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 1875 ด้วยเงินจำนวน 170,000 เหรียญสหรัฐฯ ทรัพย์สิน $110,000 ที่น่าสนใจคือ ตอนนั้นธุรกิจเขาไปได้ด้วยดี ผู้คนต่างชมเรื่องรสชาติ และคุณภาพการผลิตซะด้วย

แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เขายอมแพ้ ในเมื่อโลกยังไม่แตกเสียหน่อย

ปีต่อมา เขาก็ได้ก่อตั้งบริษัท F & J Heinz ขึ้นมาร่วมกับเหล่าลูกพี่ลูกน้อง โดยตัวเขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการบริษัท และเขาเองก็ได้เพิ่มผลิตภัณฑ์หนึ่งอย่างเข้าไป นั่นก็คือซอสมะเขือเทศ และยังมีผักกาดกระป๋อง มัสตาร์ด ไปจนถึงซอสพริกไทย ด้วยความที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ในสมัยนั้น ทำให้สินค้าขายดีเป็นพลุแตก และในที่สุดบริษัทของไฮนซ์ก็เริ่มกลับมาทำกำไรได้ถึง 15,000 เหรียญสหรัฐและเริ่มสร้างธุรกิจให้เติบโตขึ้นดั่งปัจจุบัน  

ฉะนั้น แม้ว่าการล้มละลายจะฟังดูน่ากลัว แต่ขอแค่คุณไม่ยอมแพ้ ในเมื่อโลกยังไม่ถึงคราวดับสูญ คุณก็ยังคงต้องก้าวเดินต่อไป และเราหวังว่าเรื่องราวในวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับท่านไม่มากก็น้อย สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : herrinlaw, experimarketing, bankruptcyhuntsville, cooksinfo, wikipedia และ popularbio ด้วยครับ