หากเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทอื่น ๆ แล้วนั้น พบว่าธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจไม่กี่อย่างที่สามารถเอาตัวรอดได้ดี แม้ว่าบางธุรกิจอาจจะขาดทุนก็ตาม แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ธุรกิจอาหารใหญ่ ๆ หลายอย่างก็ยังเอาตัวรอดได้ แม้อาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อเอาตัวรอดในยุคโรคระบาดนี้ ไม่ว่าจะเป็น การส่ง Delivery, การส่งแบบ E-commerce หรือแม้กระทั่งการใช้วิธีลดราคา
หากจะให้เทียบง่าย ๆ ในช่วงหลัง ๆ มานี้ ทุกท่านน่าจะเคยได้ยินข่าวรถยนต์หลาย ๆ แห่งทยอยกันปิดกิจการใช่หรือไม่ หรือแม้กระทั่งโรงแรม ที่พักก็ต่างปิดกันเป็นแถว แน่นอนว่าทุกท่านคงเดาได้อยู่แล้วว่าทำไมธุรกิจเหล่านี้ถึงทยอยปิดตัว เพราะไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา หรือหากจะขายคนในประเทศ การท่องเที่ยวในประเทศก็หยุดชะงักเพราะการนโยบายของรัฐบาล รวมถึงความกังวลไม่อยากออกจากบ้านของประชาชน แต่ทำไมธุรกิจอาหารจึงยังรอดกันนะ ?
คนเราต้องกิน
ไม่ว่าเราจะกักตัวหรืออยู่ที่ไหนบนโลก คนเราก็ต้องการพลังงานในการใช้ชีวิต ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ธุรกิจของกินของใช้หลาย ๆ อย่างยังคงยืนอยู่ได้ในสภาวะโรคระบาดนี้ และแม้จะออกไปกินข้างนอกไม่ได้ ก็ยังสามารถสั่งมาทานในบ้านได้
ต้นทุนของธุรกิจอาหารที่ค่อนข้างน้อย
ต้นทุนธุรกิจอาหารนั้นค่อนข้างน้อยหากเทียบกับธุรกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ใช้เงินทุนค่อนข้างมาก เมื่อเทียบปริมาณต่อหน่วย หากให้เทียบกันง่าย ๆ การที่ข้าวหนึ่งกล่องผลิตออกมาเทียบกับรถยนต์ 1 คันที่ผลิตออกมา มูลค่าก็ต่างกันมากโข จริง ๆ ไม่ต้องถึงกับเทียบกับทั้งคันก็ได้ แค่อะไหล่ 1 ชิ้นของรถยนต์ก็มีมูลค่ามากกว่าอยู่ดี
การปรับตัวที่มีหลากหลายทาง
ธุรกิจอาหารนั้นมีวิธีการปรับตัวให้เข้ากับยุค New normal ได้หลากหลาย ตั้งแต่การตัดทอนราคาขาย การส่ง Delivery ผ่านแอปพลิเคชันอย่าง Grab, Lineman และ Food Panda การไลฟ์สดขายอาหารผ่านช่องทาง Social platform ที่เข้าถึงผู้คนได้ง่าย นึกภาพทุกท่านเล่นเฟสบุ๊กแล้วเจอกับไลฟ์สดขายปลาหมึก ขายน้ำพริกต่าง ๆ สิ หากเทียบกับธุรกิจอื่น ๆ การโฆษณาอาหารหรือของทานเล่นผ่าน Social Media นั้นย่อมง่ายกว่า อาจด้วยขนาด และความต้องการดังที่กล่าวไปในข้อแรก
จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จึงเป็นปัจจัยที่คาดว่าทำให้ธุรกิจอาหารยังคงไปต่อได้ แม้ว่าจะเผชิญกับสภาวะเช่นนี้ ขอให้ทุกคนดูแลตัวเอง ในวันข้างหน้า จะได้ถึงวันที่เราเดินออกไปข้างนอกและสังสรรค์กันได้แบบเดิมนะครับ ^^