พบกับ คุณแอร์ รินทร์ลภัส ผู้บริหาร บริษัท ควิกลิสซิ่ง จำกัด ที่ให้สินเชื่อสำหรับ SME ในเดือนเดียวกว่า 200 ล้าน !
เข้ามาทำ ควิกลิสซิ่ง ได้ยังไง
ตัวเรานั้นไม่ใช่ผู้ก่อตั้ง แต่เป็นน้องชายของคุณพ่อ ซึ่งบริษัท ควิกลิสซิ่ง จำกัดนั้นมีมากว่า 20 ปีแล้ว ส่วนตัวเรานั้นเข้ามาในช่วงที่บริษัทเริ่มอยู่ตัวและมีแผนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว จึงเกิดการควบรวมกิจการกัน ทำให้เราได้เข้ามาทำงานที่นี่และเตรียมพร้อมรับมือการเติบโตและเข้าตลาด
ควิกลิสซิ่งจาก Gen 1 สู่ Gen 2 มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
ในช่วงแรกบริษัท ควิกลิสซิ่ง จำกัด เป็นไฟแนนซ์บ้านซึ่งมีเพียงหนึ่งสาขาเท่านั้น แต่พอนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากเพราะทุกอย่างต้องมีความเป็นสากลและได้มาตรฐาน จะไม่ใช่แนวเถ้าแก่ดูแลลูกน้อง ต้องมีคณะกรรมการ มีฝ่ายบริหาร ต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีที่ทางคณะ กกต. กำหนดไว้ มีการสำรองหนี้แบบธนาคาร และต้องมีเกณฑ์บัญชีใหม่ (IFRS 9) ที่ต้องนำมาใช้กับบริษัท
บริษัทเคยอยู่ในจุดวิฤตบ้างไหม
ปี 2558 บริษัทควิกลิสซิ่งได้ขยายสาขากว่า 300 กว่าสาขาทั่วประเทศ โดยเดือนหนึ่งให้สินเชื่อมากกว่า 200 ล้าน ! ซึ่งด้วยความที่บริษัทโตเร็วมากและพนักงานมีจำนวนมากเกินไป ทำให้อาจเกิดความหละหลวมในการพิจารณาสินเชื่อ ลูกหนี้ที่เข้ามาเป็นหนี้สูญ ไม่มีตัวตนบ้าง ทิ้งสินเชื่อบ้าง และเป็นช่วงเดียวกับผู้ตรวจสอบบัญชีเข้ามาตรวจและปรับระบบบัญชีใหม่ เกิดการสำรองหนี้มหาศาลซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลา ทำให้กำไรที่บริษัทได้นั้นน้อยลงเพราะการสำรองหนี้
ผ่านมาได้ยังไง
การเปลี่ยนเป้าหมายไปยังการเก็บหนี้และการทำมาตรฐานความเสี่ยงให้มากขึ้น และกลับมาดูพื้นฐานธุรกิจซึ่งอยู่ในช่วงลองผิดลองถูก แต่ความผิดพลาดนั้นก็ทำให้คุณแอร์มีทุกอย่างในปัจจุบัน ทำให้เรากลับไปดูว่าจริง ๆ แล้วเราต้องโฟกัสกับอะไร
ควิกลิสซิ่ง คืออะไร
ควิกลิสซิ่ง เป็นบริษัทที่ให้บริการการให้สินเชื่อแก่ SME เล็ก ๆ เข้าถึงแหล่งเงินกู้ การที่ SME ขนาดเล็ก ยังไม่ได้มีผลประกอบการอะไรมากนักจะไปหาแหล่งเงินกู้นั้น จุดแรกที่จะทาง SME ขนาดเล็กจะยื่นสินเชื่อคือธนาคาร แต่ถ้าในอดีตเคยติดเครดิตบูโร หรือมีความผิดพลาดทางการเงินในอดีตก็จะไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งทางควิกลิสซิ่งนั้นคิดต่างว่า เป็นเรื่องปกติหากมีประวัติทางการเงินในอดีต ซึ่งหากกลับตัวได้หรือพร้อมจะเปลี่ยนแปลงก็อาจจะพิจารณาโดยการดูงบหรือประวัติโดยรวมว่าเกิดอะไรขึ้นและอาจพิจารณาให้สินเชื่อ ทำให้ SME สามารถเข้าถึงและเติบโตได้มากขึ้น แม้ว่า SME จะติดเครดิตบูโร แต่ถ้าไม่ร้ายแรงและจัดการได้ ทางควิกลิสซิ่งก็สามารถให้โอกาสเพื่อให้ทาง SME ทำธุรกิจต่อไป
ควิกลิสซิ่ง มีบริการอะไรบ้าง
โดยทางควิกลิสซิ่งมีการให้บริการสินเชื่อหลายอย่าง ตั้งแต่ การให้สินเชื่อรายย่อย เช่น การจำนำทะเบียนรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ การให้สินเชื่อเช่าซื้อกับผู้ประกอบการ สินเชื่อเพื่อการลงทุน เพื่อการหมุนเวียนของบริษัทโดยการเอาอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินเข้าเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
จุดเด่นของควิกลิสซิ่งคืออะไร
หนึ่งคือความคล่องตัว เพราะบริษัทควิกลิสซิ่งเป็นบริษัทใหญ่ในระดับกลาง ทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน สามารถพิจารณาสินเชื่อได้ว่องไวและมีความยืดหยุ่น โดยสองปัจจัยนี้สามารถดึงดูดผู้ประกอบการเข้ามาได้มากเลยทีเดียว
ตัวอย่างเคสที่ประทับใจมีอะไรบ้าง
เคยมีเคสที่ลูกค้าเป็นกลุ่ม SME คล้าย ๆ โครงการผลิตทองม้วน1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้เป็นนิติบุคคลและมีกำลังการผลิตที่ไม่แน่นอนต่อวัน เพราะขึ้นอยู่กับสุขภาพของพนักงานแต่ละคน ทำให้ทางผู้ประกอบการต้องการกู้เงินเพื่อไปซื้อเครื่องจักร เพราะถ้าเอาเงินรายได้ไปซื้อก็จะไม่มีเงินหมุนเวียน ซึ่งการที่ทางควิกลิสซิ่งอนุมัติสินเชื่อก็ทำให้ทางโครงการมีเงินพอที่จะเอาไปซื้อเครื่องจักรได้ และยังมีเงินไปจ่ายค่าพนักงาน ค่าวัตถุดิบต่าง ๆ โดยผ่อนชำระกับทางบริษัทเป็นงวด ๆ ไป
ทำไมถึงกล้าปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็ก
ทางควิกลิสซิ่งเชื่อว่า อยากทำให้เรื่องเงินเป็นเรื่องง่าย อยากให้ธุรกิจดำเนินต่อได้ ใครก็ได้สามารถนำเงินในจุดนี้ไปสร้างอาชีพโดยการจ่ายเงินผ่านบริษัทที่ผลิต เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะไม่นำเงินไปใช้ผิดประเภท
หากนั่งไทม์แมชชีนย้อนไปในอดีตได้ จะบอกอะไรกับเขา
เปิดตัวเองให้มากกว่านี้ ให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากกว่านี้ อย่ามีกรอบให้ตัวเองมากจนเกินไป หากมองทุกอย่างให้เป็นโอกาส อาจเติบโตไปได้มากกว่านี้
ถ้านั่งไทม์แมชชีนไปในอนาคต 10 ปีข้างหน้าจะบอกอะไร
เธอทำได้ดีมาก เธอพยายามได้ดีถึงได้มายืนอยู่ตรงนี้ ณ เวลานี้ และเธอควรค่ากับมัน
คิดว่าอะไรที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ
เพราะการคิดเยอะอาจทำให้เราพลาดโอกาสทางธุรกิจ ลองคุยรายละเอียดและค่อยพิจารณาว่าเราทำได้ไหม ในตอนนี้อาจจะยังไม่พร้อม แต่ในอนาคตเราอาจจะพร้อมรับโอกาสนั้นเข้ามาก็ได้ ด้วยแนวคิดเหล่านี้เอง ทำให้คุณแอร์นั้นประสบความสำเร็จดังทุกวันนี้