รู้หรือไม่ การขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาด้วยในกรณีที่พ่อค้าแม่ค้าไม่ได้จดทะเบียนบริษัท รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่มียอดขายเกิน 1 ล้านแปดแสน ! แต่…คุณอาจจะไม่ต้องเสียก็ได้ หากได้รับการ “ยกเว้น” แล้วต้องทำอย่างไร หาคำตอบได้ในคลิปนี้ครับ
เริ่มจากการเอารายได้จากการขายยื่นเสียภาษี ภ.ง.ด 90 หรือแบบแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเอารายได้ตั้งและหักจากค่าใช้จ่ายสองประเภท ได้แก่
1. ค่าลดหย่อน ขึ้นอยู่กับตัวผู้ประกอบการ เช่น มีครอบครัว มีลูก มีประกันหรือไม่
2. ค่าใช้จ่ายตามแต่ประเภทธุรกิจ มีสองประเภท คือ แบบเหมา และค่าใช้จ่ายตามจริง ซึ่งกรมสรรพากรให้หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 60% เท่ากับว่า ผู้ประกอบการต้องมี Margin ( ความแตกต่างของราคาระหว่างสิ่งที่ผู้ค้าปลีกและลูกค้าจ่ายสำหรับผลิตภัณฑ์เดียวกัน) 40% ในการเสียภาษี ลองถามตัวเองดูว่า Margin ที่เราขายของถึง 40 % หรือไม่
ถ้ามีไม่ถึง กรมสรรพากรจะหักเป็นค่าใช้จ่ายตามจริงและสมควร โดยจะพิสูจน์จากบิลหรือใบเสร็จ และการคำนวณภาษีจะคล้ายกับว่าเราจดทะเบียนบริษัท แต่ก็มีความเสี่ยงคือ กรมสรรพากรจะเรียกเราได้ง่ายขึ้น
และยังมีอีกเรื่องคือการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่ยอดขายหรือรายได้เกิน 1 ล้าน 8 แสนบาท เราต้องจด Vat ซึ่งก็มีสองทางเลือกคือ การเปิด Vat นอก คือ ราคาสินค้าที่ 100 บาทจะคูณด้วย 7 และส่วนต่าง 7 บาทจะส่งสรรพากร ซึ่งก็จะนำไปสู่เรื่องการตั้งราคาที่สูงขึ้น และอาจส่งผลต่อในแง่การขายกับคู่แข่ง แต่ยังมีทางเลือกคือ Vat ใน โดยจะหัก 7 บาทจาก 100 ซึ่งจะทำให้เราได้ 93 บาท ทำให้การใช้ VAT ในอาจกินกำไร
มีครั้งหนึ่งที่มีผู้ประกอบการท่านหนึ่งมาต่อกับทาง Taxster โดยมีรายได้ 50 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้จด VAT เลยเกิดความกังวล แต่มาพบว่า ธุรกิจของผู้ประกอบการท่านนั้นไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีเกือบ 10 ประเภท โดยหนึ่งในนั้นคือ การขายอาหารสด หรือการขายยารักษาสัตว์ ฉะนั้น หากคุณทำธุรกิจแล้วรายได้เกิน 1 ล้าน 8 ลองเข้าไปยังเว็บไซต์หรือโทรไปหากรมสรรพากรเพื่อสอบถามการยกเว้น ถ้ายกเว้น แม้รายได้เกิน 1 ล้าน 8 แสนก็ไม่ต้องจด VAT
🙏ขอขอบคุณ คุณอภิรดี ชัยกิจอุราใจ (Founder และ
CEO ของบริษัท Taxster)
📲Facebook : https://www.facebook.com/taxster.asia
🌍Website : http://www.taxster.net ให้บริการด้าน tax accounting, tax consultant, tax training และอื่น ๆ อีกมากมายเกี่ยวกับภาษี