ฟังดูแล้ว ต้นไผ่กับธุรกิจ อาจเป็นสิ่งที่ไม่น่าเข้ากันได้ในความคิดของผู้ชมบางท่าน แต่หารู้ไหมว่า มูลค่าของธุรกิจไม้ไผ่นั้นมหาศาลชนิดที่ว่าคุณคาดไม่ถึง
จากการรายงานของเว็บไซต์ grandviewresearch มูลค่าของธุรกิจไม้ไผ่นั้นอยู่ที่ราว ๆ 72000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2019 หรือราว ๆ หลักล้านล้านบาทเลยทีเดียว และมีการคาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโตขึ้นไปถึง 98300 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2027 เลยทีเดียว
ฉะนั้น วันนี้ Time Machine จะพาทุกท่านมาดูกันครับว่า ต้นไผ่นั้น สามารถนำไปทำธุรกิจหรือใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง โดยเราพาทุกท่านลงพื้นที่มายังกลุ่มวิสาหกิจป่าชุมชนตำบลลุ่มสุ่ม บ้านสามัคคีธรรมกัน
ต้นไผ่ ใน 1 ต้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายส่วน
เริ่มตั้งแต่หน่อ ที่เรารู้จักกันในชื่อ หน่อไม้ นั่นเอง หน่อไม้ไผ่สามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น หน่อไม้ดอง หน่อไม้หวาน และหน่อไม้อัด ที่สามารถส่งขายได้ พอโตขึ้นมาสักระยะ ก็จะเริ่มใช้ประโยชน์จากลำไผ่ในการทำผลิตภัณฑ์ นำไปแปรรูปต่าง ๆ หรือหากต้องการนำไม้ไผ่ไปแปรรูปเป็เฟอร์นิเจอร์ ก็ควรใช้ไม้ไผ่แก่ที่มีอายุสองปีขึ้นไป เพราะมีความทนทาน ไม่หักง่าย และกันมอดที่จะเข้ามากัดกิน
ถ้าจะทำบ้านก็อาจจะต้องใช้ไผ่รวก ซึ่งมีความทนทานมากกว่า 10 ปี หากสร้างดี ๆ ซึ่งในหมู่บ้านนี้ก็มีคนใช้ไผ่รวกสร้างบ้านหลายคน ซึ่งในแต่ละชนิดนะครับ ไม้ไผ่ก็จะมีประโยชน์ ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นแตกต่างกันไป ฉะนั้น เราจึงควรเลือกไม้ไผ่ให้เหมาะสมกับธุรกิจ และผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจะใช้ เช่น ไม้ไผ่ซางหม่นที่มีลักษณะ เนื้อนิ่ม ผิวสวย คงทน ตรง ไม่มีหนาม จะเหมาะกับการทำแคร่ ทำแผงขายของ
หรือนำไปใช้ในอาหารการกิน อย่าง ไม้ไผ่รวก ไม้ไผ่ป่า ไม้ผาด โดยบริโภคในส่วนหน่อ หรือจะอัดใส่ถุง นำไปทำอาหารขายก็ได้ แต่ไม่นิยมรับประทานหน่อของไม้ซางหม่น เพราะเราต้องเก็บส่วนลำไว้ใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งลำ ๆ หนึ่งจะอยู่ที่ราว ๆ 70- 80 บาท ซึ่งเนื้อที่ 1 ไร่ สามารถปลูกได้ตั้งแต่ 100 ต้นไปจนถึงเกือบ 300 ต้น ทำให้คิดคร่าว ๆ ว่า 1 ไร่นั้น หากขายได้ทั้งหมดจะมีรายได้สูงถึง 20000 บาทต่อไร่เลยทีเดียว
ในส่วนของไม้ไผ่ที่แข็งแรงอย่างไผ่รวก ก็จะเอาไว้ทำเก้าอี้ เพราะเนื้อจะแข็งแรง ลำจะมีขนาดพอเหมาะ ซึ่งผู้ประกอบการบางรายก็มีนำไม้ไผ่ไปแปรรูปเป็น จาน ถ้วย เช่น ถ้วยไอศกรีม และ ถ้วยก๊วยเตี๋ยว
ในปัจจุบันก็มีหลายหน่วยงานที่เข้ามาให้การสนับสนุนเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมไผ่ ตั้งแต่หน่วยงานรัฐที่เข้ามาพาชาวบ้านในบ้านสามัคคีธรรมไปให้ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการอบไม้ วิธีการกันมอด นำสารเคมีมาช่วยทำให้ไผ่อยู่คงทน เพื่อทำให้ต้นไผ่สวยงาม ทน และอยู่ได้นานหลายปี
หรือบางครั้ง ทางมหาวิทยาลัยก็พานักศึกษาเข้ามาศึกษาดูงาน ณ ชุมชนแห่งนี้เช่นกันค
ฉะนั้น จะเห็นได้เลยว่าไม้ไผ่นั้นมีหลายชนิด เลือกใช้ที่เหมาะสมที่เราต้องการจะใช้ เพื่อการผลิตที่ถูกลักษณะ และดึงประโยชน์สูงสุดของไม้ไผ่ออกมาใช้ มาช่วยกันสนับสนุนสินค้าจากธรรมชาติจากบ้านเรากันครับ เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมไผ่ไทยให้ก้าวไกลไปยังต่างประเทศและทั่วโลกครับ
สนใจความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับไม้ไผ่แปรรูป ติดต่อได้ที่
คุณลาวัลย์ มะเจียกจร
Tel : 085-702-7141
กลุ่มวิสาหกิจป่าชุมชนตำบลลุ่มสุ่ม (สินค้า OTOP)
สถานที่ : ศูนย์การเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลลุ่มสุ่ม หมู่ 5 บ้านสามัคคีธรรม