ปกติเริ่มต้นตั้งบริษัทคุณจะต้องมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ซึ่งพอตั้งบริษัท ชำระแล้ว 1 ล้าน แต่จริง ๆ ตามกฏหมายเขียนว่าชำระแค่ 25% หรือสองแสนห้า แต่เราดันไปติ๊กว่าชำระเงินแล้ว 1 ล้านบาท เราก็กลายเป็นลูกหนี้ของบริษัทโดยปริยาย
จริง ๆ ทางบริษัทต้องได้รับเงินจากกรรมการ 2 แสนห้า แต่เราดันไปติ๊กว่าชำระแล้ว 1 ล้านบาท ฉะนั้น ก็เปรียบเสมือนคุณกลายเป็นหนี้ของบริษัท 1 ล้าน เวลากรมสรรพากรมาตรวจสอบ เขาก็จะรู้เลยว่า เราเป็นเจ้าของกิจการแล้วไม่โอนเงินเข้าบริษัท 1 ล้านใช่ไหม กลายเป็นบริษัทเป็นเจ้าหนี้ของเจ้าของเสียเอง ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราตั้งบริษัทเพื่อหากำไร ฉะนั้นการที่บริษัทเอาเงินให้กรรมการใช้ กลายเป็นบริษัทเป็นเจ้าหนี้ของกรรมการ ซึ่งเวลาเจ้าหนี้มองหา เขาต้องมองหาดอกเบี้ย แสดงว่ากรรมการเป็นลูกหนี้แล้วก็ต้องส่งดอกเบี้ยให้กับบริษัทอีกด้วย
แต่ตามความเป็นจริง ไม่มีใครส่งดอกเบี้ยหรอก แต่สรรพากรบอกว่า ถ้าไม่เคยจ่ายก็ไม่เป็นไร เพราะสรรพากรจะเป็นคนคิดให้เอง ซึ่งจะคิดให้โดยบริษัทยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งรายได้เกิดจากการประกอบกิจการอีกหนึ่งรายได้คือ ดอกเบี้ย ซึ่งสามารถใช้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารเป็นดอกเบี้ยของบริษัทได้ บริษัทก็ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากดอกเบี้ย และต้องยื่นเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ร้อยละ 3.3 บนดอกเบี้ยที่จะต้องจ่าย ยื่นรายเดือนไปเรื่อย ๆ ไม่ได้ยื่นก็มีโทษกันไป
เวลาที่เราดูงบการเงินของบริษัท ถ้างบการเงินตัวไหนของบริษัทมีคำว่า ลูกหนี้กรรมการ สรรพากรจะไม่มองแค่ดอกเบี้ยเพราะตัวเลขมันน้อย แต่เขาจะดูว่า ลูกหนี้กรรมการที่เกิดขึ้นนั้นเพราะยื่นรายได้ไม่ถูกต้อง หรือลูกหนี้กรรมการดึงเงินของบริษัทไปใช้ ขายของได้ไม่เอาเงินเข้าบริษัท เอาเงินไปใช้เองหรือไม่ เพราะเงินก้อนนี้ที่อยู่ในงบการเงิน ต้องระวังให้ดีนะคะ
ขอขอบคุณ คุณอภิรดี ชัยกิจอุราใจ
Founder และ CEO ของบริษัท Taxster
Facebook : Taxster ภาษี…อย่าไปกลัว
Website : http://www.taxster.net ให้บริการด้าน tax accounting, tax consultant, tax training และอื่น ๆ อีกมากมายเกี่ยวกับภาษี