การประกอบธุรกิจอะไรสักอย่างหนึ่ง ไม่ใช่แค่คิดแล้วก็อยู่ ๆ ก็จะทำได้ คุณยังต้องคิดคำนึงถึงการเสียภาษีตามที่กฏหมายกำหนดไว้ด้วย ซึ่งหน่วยงานเกี่ยวกับภาษี หรือที่เราเรียกกันว่า ‘กรมสรรพากร’ ซึ่งวันนี้ Time Machine นำเรื่องเกี่ยวกับภาษีมาฝากเป็นความรู้ให้ทุกท่านกันแล้ว สำหรับ 4 สิ่งที่ทำให้กรมสรรพากรอยากเจอคุณ !
สิ่งที่ทำให้สรรพากรอยากเจอตัวคุณมีทั้งหมด 4 อย่างด้วยกัน แบบที่ 1 คือ ตอนที่คุณก่อตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ ๆ ตอนไปจดทะเบียน เป็นเรื่องธรรมดาที่สรรพากรต้องการรู้จักผู้ประกอบการหน้าใหม่ว่าทำเรื่องเสียภาษีเป็นอย่างไร ถูกต้องหรือยัง จากนั้นก็จะเข้าสู่แบบที่ 2 คือ เมื่อคุณมีรายได้ประมาณล้านกว่าบาทขึ้นไป อาจเป็นหนึ่งล้านแปดแสนหรือน้อยกว่านั้น ซึ่งผู้ก่อตั้งบริษัท เราก็ย่อมรู้อยู่แล้วว่ารายได้เราเยอะ ทำให้ไม่แปลกที่จะเป็นจุดสนใจของทางกรมสรรพากร
แน่นอนว่าหากคุณเลิกกิจการ สรรพากรก็ต้องมาแน่นอน เพราะต้องการตรวจสอบว่าเราเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ ไม่ใช่แค่มาเฉพาะตอนก่อตั้งเท่านั้น และแบบสุดท้ายคือ ตอนคุณขอคืนภาษี สรรพากรจะให้เซ็นเงินคืนให้ แต่ก็ต้องมั่นใจว่าที่ผ่านมา คุณเสียภาษีถูกต้องจริง
และหากเราไม่เคยยื่นเรื่องเสียภาษีกับทางกรมสรรพากรเลยก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่รับรู้ถึงการมีตัวตนของบริษัทของคุณ โดยทางหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นศุลกากรหรือสรรพสามิต หากพวกเขาเห็นข้อมูลแปลก ๆ เช่น มีรายได้เกิน 2 ล้านบาท และมีเงินฝากเข้าบัญชีธนาคารมากกว่า 400 ครั้ง ซึ่งแบบแรกก็คือ ทางธนาคารจะส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร และอีกแบบก็คือ ทางหน่วยงานส่งข้อมูลให้กันเอง ไม่ว่าจะเป็นสรรพากรพื้นที่ส่งให้กันเองหรืออาจเป็นกรมใหญ่ ๆ ส่งให้กรมสรรพากรพื้นที่ก็ตาม
คนใน เช่น พนักงานในบริษัท ที่หากจากกันไม่ดี อาจนำเรื่องไปบอกทางสรรพากรให้มาตรวจสอบบริษัทคุณเองก็ได้ ฉะนั้น ต้องรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกน้องไว้ มีคนในแล้ว คนนอกเองก็แจ้งได้เช่นกัน คนนอก เช่น คู่แข่งของคุณ หากเขาไม่พอใจคุณหรือมั่นใจว่าคุณเสียภาษีไม่ถูกต้อง ทำให้ราคาที่คุณขายให้กับลูกค้าต่ำกว่าคู่แข่ง เขาก็แค่ดูว่าคุณออกใบกำกับภาษีถูกต้องไหม มีการหลบรายได้หรือเปล่า ถ้าเกิดมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น เขาแค่เอาข้อมูลไปบอกกรมสรรพากรให้มาตรวจ แค่นั้นก็น่าจะทำให้คุณเหนื่อยไม่น้อยเลย
แถมอีกสักนิดก่อนจากกันไป หากคุณไม่ยื่นเสียภาษีเลย สิ่งที่น่ากลัวคือ ทางกรมสรรพากรสามารถยื่นตรวจสอบภาษีย้อนหลังได้ถึง 10 ปีเลย ซึ่งน่าจะผ่านมานานมากจนเราแทบลืมไปแล้วด้วยซ้ำ แต่ในกรณีที่คุณยื่นแบบเสียภาษีโดยตรง ก็เหมือนเป็นดาบสองคมเพราะยื่นไปก็ไม่รู้ว่าจะถูกหรือเปล่า
แต่ความต่างมันอยู่ที่จำนวนปี หากคุณยื่นแบบเสียภาษี สรรพากรมีอำนาจตรวจเบื้องต้นได้แค่ 2 ปีเท่านั้น ซึ่งส่วนต่างของปีกว่า 8 ปีเลยทีเดียว หรือบางคนอาจจะได้ยินบ่อย ๆ ว่ามีการตรวจสอบภาษีย้อนหลังถึง 5 ปี ซึ่งจริง ๆ ตอนแรกก็มีเพียงแค่ 2 ปี แต่ถ้าทางกรมสรรพากรคิดว่าคุณกำลังเลี่ยงภาษี ก็แค่ขยายเป็น 5 ปี เท่านั้น
แต่ก็จะเห็นได้ว่า อย่างไรก็ตาม การยื่นแบบเสียภาษีก็ดีกว่า
ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรมาตรวจคุณด้วยเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ที่เล่าให้ฟังแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำก็แค่ถามท่านเรื่องเวลามาตรวจ ขอข้อมูล หรือจะเข้ามาที่บริษัทว่าวันนี้จะเข้ามาทำอะไรบ้าง เพื่อจะได้เตรียมตัวให้ทุกอย่างเรียบร้อยและผ่านไปได้ด้วยดี หากอยากรู้ประเด็นอะไรเพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์ไว้ใต้คลิปได้เลย เพื่อข้อมูลที่มากยิ่งขึ้นในอนาคต
ขอขอบคุณ คุณอภิรดี ชัยกิจอุราใจ
ผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัท Taxster
Facebook : Taxster ภาษี…อย่าไปกลัว